“เอพิคิวรัส บิดาแห่งสุขนิยม”

"เอพิคิวรัส บิดาแห่งสุขนิยม"
        ผมได้มีโอกาสอ่านบทความของคุณ สฤณี อาชวานันทกุล ในนิตสารสารคดี ฉบับ 266 ที่ได้กล่าวถึง ความสุขโดยนักปรัชญาชาวกรีกโบราณ นามว่า เอพิคิวรัส(Epicurus) ได้คิดและบันทึกเรื่องเล่านี้เมื่อใน 2,000 ปีมาแล้ว
 
      การวิพากษ์โดยคุณ สฤณี ที่แย้งการตีความของนักปรัชญารุ่นหลังถึงการตีความ "ความสุข" ของเอพิคิวรัสเพี้ยนไปเป็นว่า แนวคิดของเค้าสนับสนุนเฉพาะ "ความสุขอย่างมีระดับ" หรือ อาจจะบอกง่ายๆว่า ความสุขได้มาจากการซื้อของหรูหรา นั่งทานอาหารฮ่องเต้ในอักขรสถานมีระดับ คนรวยไม่จริงไม่ได้สัมผัส
 
      สฤณี กล่าวถึงความสุขตามแนวคิดของ เอพิคิวรัส ไว้ว่า เขาได้ให้แนวคิดถึงความสุขที่ยั่งยืนกว่าที่ใครๆก็เข้าถึง แม้นักปรัชญาคนนี้ เห็นด้วยกับนักสุขนิยมคนอื่นๆ ที่ว่า "ความสุข" ของมนุษย์ประกอบด้วย "ความสำราญ(Pleasure)" และการแสดงหาความสำราญ คือ "ประโยชน์และจุดมุ่งหมายสูงสุด" ของความเป็นมนุษย์ แต่เขาแนะนำว่า เราควรแสวงหาความสุขชนิดที่ยั่งยืนจริงๆ ไม่ใช่ชนิดที่ทำให้เราเพลิดเพลินเพียงชั่วคราวเท่านั้น เอพิคิวรัสบอกว่า "ความสุข" ที่ดีที่สุด และที่ยั่งยืนที่สุด คือการมี "ความต้องการทางธรรมชาติที่จำเป็น" อันได้แก่ ปัจจัยสี่ เสรีภาพ และความคิดอ่าน ซึ่งส่วนใหญ่เป็น "ความต้องการทางใจ" ที่ไม่ต้องใช้เงินซื้อ ต่างจาก "ความต้องการทางธรรมชาติที่ไม่จำเป็น" นั่นคือ "ความต้องการทางวัตถุ" สฤนี ได้สรุปปรัชญาความสุขของ เอพิคิวรัสว่า "การใช้ชีวิตอย่างพอประมาณ ท่ามกลางเหล่ามิตรสหายที่เสวนากันด้วยปัญญาอย่างเสม่ำเสมอเท่านั้น ที่จะนำมาซึ่งความสุขอันยั่งยืนตลอดชีวิต"
 
      เราสามารถทดลองกาค้นหาความสุขจาก ปรัชญาของเอพิคิวรัสด้วยตัวเองได้ง่ายๆ โดยการมี ปัจจัยสี่ ครบ มีมิตรสหายที่ดี มีครอบครัวที่อบอุ่น แม้จะจ่ายเงินมากแค่ไหนก็ไม่สามารถรู้สึกถึงความสุขได้มากขึ้นกว่านี้อีกแล้ว (สฤณี, 2550)
 
      แต่ถ้าเรามาลองนิยามของความสุขกันเล่นๆเอง หลายๆคนอาจจะแย้งเอพิคิวรัสกันก็ได้ ผมเห็นด้วยกับ "ความสุขที่แท้จริง ที่ความสุขที่เกิดจากจิตใจ" ซึ่งผมเองมองว่า "ความสุข" ของมนุษย์ อยู่ที่ "การใช้ชีวิตอย่างสมดุลในทุกๆเรื่อง" ความสมดุลนี้ มันทำไม่ยากเลยหากรักษาศีลให้บริสุทธิ์อย่างเสม่ำเสมอ เนื่องจากศีลนี่เอง ที่สามารถช่วยประคองจิตใของคนเราไม่รอดพ้นจากความทุกข์ทั้งหลาย… น่าเสียดาย ที่พุทธศาสนา ไม่ได้ถูกเผยแพร่เข้าไปในกรีก ไม่เช่นนั้น เอพิคิวรัส อาจจะนิยามความสุขว่า ความสุขที่ยั่งยืน คือ การนำตัวเองเข้าสู่แดนนิพพาน อย่างที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ก็เป็นได้
 
 
     

อาการผีอำ

เคยเป็นกันมั้ย นอนอยู่ดีๆ แล้วก็รู้สึกกระดิกตัวเองไม่ได้
หายใจไม่สะดวก รู้สึกตัวดี แต่ขยับมือ เท้าไม่ได้ ยิ่งดิ้นยิ่งเจ็บ
ส่วนตัวแล้ว ผมเป็นบ่อยมากๆ ยิ่งนอนกลางวันนะ เป็นทุกวันเลย ผมเลยไม่กล้านอนกลางวัน กลัวตาย
 
วันนี้ไปดีใจได้สนทนาธรรมกับพระนักปฏิบัติรูปหนึ่ง ได้ชี้แจงให้ฟังและกระจ่างแล้ว ว่าอาการผีอำน่ะ มันไม่ได้เกิดจากสมองทำงานผิดปกติแม้แต่น้อย

แล้วมันเกิดจากอะไรล่ะ

ช่วงเวลาที่เราโดนผีอำนั้นเอง เป็นเวลาที่จิตเราได้เชื่อมต่อกับภูมิเก่าและมีเจ้ากรรมนายเวรมาหาเพื่อที่จะแลกเปลี่ยนกรรมซึ่งกันและกัน
บางทีอาจจะยังชดใช้กันไม่หมด แทนที่จะรอให้เราชดใช้ด้วยอุบัติเหตุ หรือเหตุการณ์ต่างๆนานา แต่วิธีนี้เป็นทางลัดที่เราและเจ้ากรรม

มีการแลกเปลี่ยนกรรม และแลกเปลี่ยนจิตกัน

ควรทำอย่างไร
ณ วินาทีนั้น ให้ตั้งจิตและตั้งสติให้มั่น พร้อมกับอธิษฐานว่า อะไรที่เราได้มีกรรมต่อกัน ท่านอยากได้อะไรก็เอาไปเลย หรือจะส่งอะไรมาให้ก็ให้ส่งมา แล้วอยู่นิ่งๆ
ไม่ต้องกลัวตาย เพราะถ้าอยู่นิ่งๆได้ เราจะไม่เจ็บตัว

อาการผีอำ จะเกิดขึ้นกับคนในช่วงใด
การถ่ายกรรมและการเชื่อมจิตแบบนี้ จะทำได้เมื่อสภาวะของคนๆนั้น มีความบริสุทธิ์ และไม่ได้ถูกครอบงำจากลูกเมีย หรือกิจการงานที่ทำให้จิตมัวหมอง
คนส่วนใหญ่ที่มีอาการแบบนี้ จึงมักจะเกิดก่อนการมีครอบครัว หรืออยู่ในช่วงการรักษาพรหมจรรย์ เพราะหากมีมลทินติดมาแล้ว จะถูกครอบด้วยกลิ่นสาบคาว
วิญญาณที่ส่งกระแสจิตมา และไม่สามารถเชื่อมต่อได้

ดังนั้น อย่ากลัวอาการผีอำนะครับ